รู้ทัน AI writer

Wirote Aroonmanakun
8 min readAug 8, 2022

--

เปิดเทอมแล้ว ครูสมศรีนั่งเตรียมการสอนเหมือนเช่นเคย “ปีนี้จะลองให้นักเรียนเขียนบทความเรื่องอะไรดี” สมศรีคิด. หนึ่งในหัวข้อที่คิดไว้ “ดื่มกาแฟให้ประโยชน์หรือโทษต่อร่างกาย”

สมชายมาเรียนด้วยความจำใจ ใคร ๆ ก็รู้ว่าสมชายไม่ใช่เด็กขยัน มักแสดงความไม่สนใจเรียนให้เห็นอยู่เนืองๆ แต่สมชายก็สร้างความประหลาดใจให้กับครูสมศรี เขาเขียนรายงานส่งได้ทันตามกำหนด และเขียนออกมาได้เรื่องราวดีกว่าเพื่อนหลายคน แม้จะมีภาษาแปร่งๆ บ้างตามที่เห็นนี้

ดื่มกาแฟให้ประโยชน์หรือโทษต่อร่างกาย
กาแฟเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมทั่วโลก หลายคนชอบรสชาติของกาแฟแต่ไม่แน่ใจเกี่ยวกับประโยชน์ต่อสุขภาพและผลข้างเคียง ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าการบริโภคกาแฟนั้นดีต่อสุขภาพร่างกาย คนอื่นๆ เชื่อว่ากาแฟนั้นส่งผลเสีย ผลกระทบของกาแฟต่อร่างกายเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ บางคนเชื่อว่ากาแฟมีประโยชน์ต่อร่างกาย บางคนเชื่อว่ากาแฟนั้นส่งผลเสีย กาแฟเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มยอดนิยมทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ผลของการบริโภคกาแฟต่อร่างกายยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เบียร์ ไวน์ และสุราก็บริโภคกันทั่วโลกเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของสิ่งเหล่านี้ต่อร่างกายไม่เป็นที่ถกเถียงกัน

กาแฟเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเมื่อบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ การดื่มกาแฟมีประโยชน์มากมาย เช่น ปกป้องหัวใจจากโรคภัยไข้เจ็บและส่งเสริมสุขภาพสมอง กาแฟเป็นยากระตุ้นเล็กน้อย ซึ่งหมายความว่าสามารถเพิ่มการทำงานของสมองได้ชั่วคราว บางคนใส่นมลงในกาแฟเพื่อช่วยในคุณสมบัติกระตุ้นที่ไม่รุนแรง นี่เป็นวิธีปฏิบัติทั่วไปเมื่อต้องรับมือกับการขาดพลังงานในช่วงเช้าตรู่ นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ กาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคบางชนิดได้ ดังนั้นกาแฟจึงเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเมื่อบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ ในทางกลับกัน การบริโภคกาแฟมีผลข้างเคียงมากมาย เช่น กระเพาะประหม่าและปัญหาการนอนหลับ บางคนมีกระเพาะอาหารที่บอบบางและไม่สามารถจัดการกับความเป็นกรดของกาแฟได้ บางคนมีแนวโน้มทางพันธุกรรมที่จะเป็นแผลในกระเพาะอาหารเมื่อสัมผัสกับความเป็นกรดของกาแฟ ดังนั้นบางคนจึงมีกระเพาะประหม่าเมื่อสัมผัสกับคุณสมบัติกระตุ้นของกาแฟ เมื่อบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป กาแฟอาจนำไปสู่ปัญหาการนอนหลับได้ เนื่องจากคาเฟอีนขัดขวางการนอนหลับ REM ซึ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กเล็ก ดังนั้นการจำกัดการบริโภคกาแฟจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่ากาแฟมีประโยชน์เพราะไม่มีผลข้างเคียง เนื่องจากกาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคบางชนิดได้ กาแฟเป็นสารกระตุ้นเล็กน้อยซึ่งสามารถเพิ่มการทำงานของสมองได้ชั่วคราว ดังนั้นการบริโภคกาแฟจึงสามารถป้องกันสมองจากโรคความเสื่อมได้ อย่างไรก็ตาม กาแฟมีคาเฟอีนซึ่งเป็นยาและควรใช้เท่าที่จำเป็น ดังนั้นกาแฟไม่ควรเป็นแหล่งสำคัญของคาเฟอีนในอาหาร ผู้เชี่ยวชาญที่เชื่อว่ากาแฟไม่ดีต่อสุขภาพจะไม่ดื่มกาแฟทุกวันเหมือนคนส่วนใหญ่ พวกเขาไม่เข้าใจถึงผลข้างเคียงทั้งหมดของกาแฟอย่างถ่องแท้ ดังนั้นพวกเขาจึงไม่เข้าใจถึงผลกระทบของกาแฟที่มีต่อร่างกายอย่างถ่องแท้ อย่างไรก็ตาม ผู้ดื่มกาแฟทุกวันไม่ค่อยกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของกาแฟต่อร่างกาย พวกเขาเข้าใจผลกระทบของการบริโภคกาแฟทุกวันต่อร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ดื่มกาแฟทุกวันจึงมีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพที่ดีมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟเป็นประจำ

แม้ว่ากาแฟจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ก็มีผลข้างเคียงบางอย่างเช่นกัน การดื่มกาแฟมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่การบริโภคมากเกินไปอาจมีผลข้างเคียง หากดื่มกาแฟในปริมาณที่พอเหมาะก็สามารถเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้ อย่างไรก็ตาม การบริโภคที่มากเกินไปอาจมีผลข้างเคียงและอาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้นการบริโภคกาแฟในระดับปานกลางจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียง

ครูสมศรีเรียกสมชายมาสอบถามว่าได้ทำงานชิ้นนี้เองหรือไม่ สมชายก็ยืนยันว่าเขาทำเองกับมือ ไม่ได้ไปลอกใครหรือใช้ให้คนอื่นทำให้ อย่างไรก็ดี เมื่อถูกซักในเนื้อหาที่เขียนมากเข้า สมชายก็สารภาพว่าที่ว่าเขาทำด้วยตนเองนั้นหมายความว่าอย่างไร

สมชายเริ่มต้นด้วยการเอาชื่อเรื่อง ดื่มกาแฟให้ประโยชน์หรือโทษต่อร่างกาย แปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย Google translate ได้ว่า Drinking coffee benefits or harms the body. จากนั้นเขาจึงเข้าเว็บใช้ Smodin Author ซึ่งเป็นบริการ AI writer ตัวหนึ่ง เลือกเขียน essay ประเภท argumentative

และนี่คือผลที่ได้จาก Smodin ซึ่งเขาก็ให้ Google แปลจากอังกฤษเป็นไทย แล้ว copy คำแปลภาษาไทยมาส่งครูตามที่เห็น

Drinking coffee benefits or harms the body.
Coffee is a popular beverage worldwide. Many people enjoy the taste of coffee but are not sure about the health benefits and side effects. Some experts believe that coffee consumption is healthy for the body, others believe that it is harmful. Coffee’s effects on the body are controversial. Some believe that coffee is healthy for the body, others believe that it is detrimental. Coffee is one of the most popular beverages worldwide. However, the effects of coffee consumption on the body are controversial. Beer, wine, and spirits are also consumed worldwide. However, the effects of these on the body are not as controversial.

Coffee is a healthy beverage when consumed in moderation. There are many benefits to consuming coffee, such as protecting the heart from disease and promoting brain health. Coffee is a mild stimulant; this means it can temporarily increase brain activity. Some people add milk to their coffee to aid in its mild stimulant properties. This is a common practice when dealing with a lack of energy during the early morning hours. It is also beneficial for people with certain medical conditions, such as cardiac arrhythmia. Coffee contains antioxidants, which can reduce the risk of developing certain diseases. Therefore, coffee is a healthy beverage when consumed in moderation. On the other hand, coffee consumption has many side effects, such as nervous stomach and sleep problems. Some people have a sensitive stomach and cannot handle coffee’s acidity. Some people have a genetic predisposition to develop stomach ulcers when exposed to coffee’s acidity. Therefore, some people have a nervous stomach when exposed to coffee’s stimulant properties. When consumed in excessive amounts, coffee can lead to sleep problems. This is because caffeine disrupts REM sleep, which is essential for young children’s growth and development. Therefore, it is important to limit coffee consumption so that side effects do not affect health. Many experts believe that coffee is healthy because it has no negative side effects. This is because coffee contains antioxidants, which can reduce the risk of developing certain diseases. Coffee is a mild stimulant, which can temporarily increase brain activity. Therefore, coffee consumption can protect the brain from degenerative diseases. However, coffee contains caffeine, which is a drug and should be used sparingly. Therefore, coffee should not be a major source of caffeine in the diet. The experts who believe that coffee is unhealthy do not drink it daily like most people. They do not fully understand all the side effects of coffee. Therefore, they do not fully understand coffee’s effect on the body. However, daily coffee drinkers are less worried about coffee’s effect on the body. They understand the effect of daily coffee consumption on the body. Therefore, daily coffee drinkers are more likely to be healthy than those who do not drink coffee on a regular basis.

Although coffee has some health benefits, it also has some side effects. Drinking coffee is beneficial for the body, but excessive consumption can have side effects. If coffee is consumed in moderation, it can be a healthy beverage for the body. However, excessive consumption can have side effects and can be harmful. Therefore, it is important to moderate coffee consumption to avoid side effects.

ความกังวลของครู

ครูสมศรีนั่งปรับทุกข์กับครูปรามีย์ครูสอนภาษาอังกฤษถึงเรื่องนี้ นี่ถ้าเขาไม่ได้สังเกตเห็นการเขียนภาษาแปลก ๆ อย่าง กระเพาะประหม่า หรือสำนวนการเขียนที่ดูไม่เป็นธรรมชาติอย่าง กาแฟเป็นยากระตุ้นเล็กน้อย ซึ่งหมายความว่าสามารถเพิ่มการทำงานของสมองได้ชั่วคราว บางคนใส่นมลงในกาแฟเพื่อช่วยในคุณสมบัติกระตุ้นที่ไม่รุนแรง นี่เป็นวิธีปฏิบัติทั่วไปเมื่อต้องรับมือกับการขาดพลังงานในช่วงเช้าตรู่

นี่ถ้าสมชายรู้จักปรับแก้ภาษาไทย ไม่คัดลอกข้อความทั้งหมดมาส่งเลย แต่รู้จักอ่านและแก้ภาษาแบบตัวอย่างข้างล่างนี้ได้ แล้วเราจะตรวจจับได้อย่างไร ครูสมศรีปรารถขึ้น

‘ถ้าเขาปรับแก้แบบที่เธอว่าได้ เธอก็ไม่ควรกังวล เพราะอย่างน้อยเขาก็รู้ว่าควรแก้ภาษาไทยอย่างไรให้เหมาะสมได้ และถ้านายสมชายทำแบบนี้ได้จริงๆ ฉันก็จะสบายใจด้วยเพราะนั่นหมายถึงเขาอ่าน essay ภาษาอังกฤษเข้าใจรู้ว่าจะแก้ภาษาไทยอย่างไร’ อ.ปรามีย์เอ่ย

‘คนที่ควรวิตกคือฉันมากกว่า เพราะบทความภาษาอังกฤษที่เครื่องเขียนออกมานี่สิ มันใช้การได้เลยนะ แล้วฉันจะรู้ได้อย่างไรว่านักเรียนเขียนมาเองหรือให้เครื่องเขียน เพราะแม้จะเข้าเครื่องตรวจจับการลักลอกก็คงไม่เจอเพราะเครื่องเขียนเองใหม่ไม่ได้ลอกของคนอื่นมา’

เบื้องหลังที่มา

ที่มาของบทความนี้มาจากการที่มีผู้สอบถามหา AI writer ที่สามารถเขียนภาษาไทยได้ดี เพราะที่เขาใช้อยู่เป็น AI writer ภาษาอังกฤษซึ่งช่วยเขียนบทความได้ดี ราคาไม่แพง. ได้ตอบไปว่า ยังไม่ได้ข่าวโมเดลภาษาไทยที่ใช้เขียนบทความโดยตรง อาจจะมีอยู่แต่ผู้เขียนไม่รู้จัก แต่ถ้า AI writer เขียนภาษาอังกฤษได้ดีแล้ว ทำไมไม่ใช้เพื่อเขียนเป็นภาษาอังกฤษก่อนแล้วค่อยให้แปลเป็นไทย เพราะสาระสำคัญของบทความคือเนื้อเรื่องหรือเนื้อหาที่เขียน ซึ่งไม่ได้ขึ้นกับภาษาโดยตรง ถ้าเราสร้าง content flow มีเรื่องเล่าที่ดีแล้ว จะทำออกมาเป็นภาษาไหน ก็เป็นเรื่องระดับผิวที่ใช้ language model ภาษานั้นก็น่าจะได้

ผู้เขียนจึงได้ทดลองสร้างบทความภาษาไทยจาก content ภาษาอังกฤษที่สร้างด้วย AI writer ตามที่เห็นข้างบน ซึ่งก็ถือว่ามีเนื้อหาใช้ได้แต่ยังคงต้องปรับภาษาไทยให้เป็นธรรมชาติมากขึ้น คำถามต่อมาคือ เป็นเพราะเนื้อหาหรือเรื่องราวเป็นสากลจึงทำแบบนี้ได้ใช่ไหม ถ้าเป็นเรื่องที่เจาะจงกับสังคมวัฒนธรรมไทย เช่น เรื่องสถาบันกษัตริย์ในประเทศไทย AI writer ยังสามารถสร้างบทความออกมาได้ไหม

AI writer กับงานเขียนเฉพาะในวัฒนธรรมไทย

ผู้เขียนจึงทดลองตั้งชื่อเรื่อง ความสำคัญของสถาบันกษัตริย์กับประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งแปลด้วย Google เป็น The importance of the monarchy and Thai history และนี่คือผลที่ได้จากการสั่งให้สร้าง article ที่มี 6 ย่อหน้า ซึ่ง Smodin ก็เขียนบทความออกมาให้รวดเดียวสองบทความ บทความที่เห็นข้างล่างนี้คือบทความแรก

The monarchy and thai history are important to the country’s culture.
The Thai monarchy has been a pillar of stability in Thailand. The Thai sense of identity is closely linked to the monarchy, an institution that dates back more than 700 years. The institution, to this day, continues to play a unifying role and symbolizes the unity of the Thai communities.

The institution of the monarchy in Thailand is in many ways unique. Not only does it have a history going back more than seven hundred years, but it has also managed to preserve its relevance in the contemporary world. A constitutional monarchy since the promulgation of the Kingdom’s first constitution in 1932, the institution today continues to command deep, universal respect and serves as a guiding light and unifying force for the country, a focal point that brings together people from all backgrounds and shades of political thought and gives them an intense awareness of being Thai.The love and reverence the Thai people have for their King stem in large part from the moral authority His Majesty King Bhumibol Adulyadej The Great has earned during his reign, one that involves a remarkable degree of personal contact with the people. At the same time, it is rooted in attitudes that can be traced to the earliest days of Thailand as a nation state and in some of the past monarchs who continue to serve as models of kingship. Thai concepts of monarchy have their origins in Sukhothai, founded in the early part of the 13th century and generally regarded as the first truly independent Thai kingdom. Here, particularly under the reign of King Ramkhamhaeng the Great (1275–1317 AD), was born the ideal of a paternalistic ruler alert to the needs of his people and aware of the fact that his duty was to guide them.Such forms part of Dasavidha-rajadhamma, or the ten precepts of kingship, which — rooted in the tradition of Theravada Buddhism — encompasses such virtues as willingness to give and sacrifice for a greater good, morality, honesty, open-mindedness, diligence, compassion, perseverance and righteousness.With the founding of the Chakri dynasty in 1782 and the establishment of Bangkok as the capital, the kingship was based primarily on adherence to the said Buddhist concepts of virtue, which indeed has served to the present day as a code of conduct of a Thai monarch and made the monarchical institution one that is responsive to the needs of the people. The Bangkok period has produced a succession of able kings, capable of meeting a variety of challenges to the country, to the people as well as to the monarchy itself.Today, Thailand is a constitutional monarchy with a democratic form of government. The Thai monarch reigns, but does not rule. He discharges his roles in accordance with the country’s constitution and remains above partisan politics, while continuing to contribute to the development and well-being of the Kingdom and its people.

The institution of the monarchy in Thailand is in many ways unique, often difficult for outsiders to fully comprehend. Not only does it have a history going back more than seven hundred years, but it has also managed to preserve its relevance and vitality in the contemporary world. Even though the monarchy in its absolute form ended in 1932, the institution today continues to command deep, universal respect and serves as a unifying element for the country.

The King of Thailand has little direct power under the constitution, but is a symbol of national identity and unity. King Bhumibol — on the throne from 1946 to 2016 — commanded enormous popular respect and moral authority, which he used on occasion to resolve political crises that threatened national stability.

Thailand’s diplomacy skills led them to enter into various treaties with western nations during the period starting in the late 18th century. Thai relations were built particularly with Britain and France. Many say this diplomatic strategy may be the only reason that they retained control during a time of such heavy western colonization in the region.

Thailand categorizes itself as a constitutional monarchy, the king has little direct power under the constitution and exercises power through the National Assembly, the Council of Ministers, and the Courts in accordance with the 2017 constitution. The king, as the head of state, is the symbol of national identity and unity.

ซึ่งจะเห็นว่าได้ผลดีกว่าที่คิด เพราะนึกว่าจะเขียนแบบแต่งเรื่องขึ้นมาเอง แต่กลับเป็นว่าเนื้อหาที่เขียนก็อิงจากข้อมูลจริง นำมาเรียบเรียงเป็นบทความ และเมื่อให้ Google แปลเป็นไทยโดยไม่มีการปรับแก้ไขใดๆ ก็ได้ผลตามที่เห็น

สถาบันพระมหากษัตริย์และประวัติศาสตร์ไทยมีความสำคัญต่อวัฒนธรรมของประเทศ
สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยเป็นเสาหลักแห่งความมั่นคงของประเทศไทย อัตลักษณ์ของไทยมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันที่มีอายุเก่าแก่กว่า 700 ปี สถาบันมาจนถึงทุกวันนี้ ยังคงมีบทบาทในการรวมเป็นหนึ่งและเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีของชุมชนไทย

สถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทยมีความพิเศษหลายประการ ไม่เพียงแต่มีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่าเจ็ดร้อยปีเท่านั้น แต่ยังรักษาความเกี่ยวข้องในโลกร่วมสมัยอีกด้วย ระบอบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญนับตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกของราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2475 ปัจจุบันสถาบันยังคงให้ความเคารพอย่างลึกซึ้งและเป็นสากล และทำหน้าที่เป็นแสงนำทางและความสามัคคีสำหรับประเทศ จุดรวมที่รวบรวมผู้คนจากภูมิหลังและเฉดสีของ ความคิดทางการเมืองและทำให้พวกเขาตระหนักรู้อย่างลึกซึ้งว่าเป็นคนไทย ความรักและความเคารพที่คนไทยมีต่อพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่มาจากอำนาจทางศีลธรรมที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตรได้รับในรัชกาลของพระองค์ซึ่งเกี่ยวข้องกับปริญญาอันโดดเด่น ของการติดต่อส่วนตัวกับผู้คน ในขณะเดียวกันก็มีรากฐานมาจากทัศนคติที่สืบย้อนไปถึงยุคแรกสุดของประเทศไทยในฐานะรัฐชาติและในพระมหากษัตริย์ในอดีตบางองค์ที่ยังคงเป็นต้นแบบของความเป็นกษัตริย์ แนวความคิดเกี่ยวกับราชาธิปไตยของไทยมีต้นกำเนิดมาจากสุโขทัย ก่อตั้งขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 13 และโดยทั่วไปถือเป็นอาณาจักรไทยแห่งแรกที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (ค.ศ. 1275–1317) ถือกำเนิดขึ้นในอุดมคติของผู้ปกครองบิดาที่ตื่นตัวต่อความต้องการของประชาชนของเขาและตระหนักถึงความจริงที่ว่าหน้าที่ของเขาคือการชี้นำพวกเขา รูปแบบดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ ทศาวิธราชธรรม หรือ ศีล ๑๐ ของความเป็นกษัตริย์ ซึ่ง — มีรากฐานมาจากประเพณีของพระพุทธศาสนาเถรวาท — หมายรวมถึงความเต็มใจที่จะให้และเสียสละเพื่อสิ่งที่ดียิ่งขึ้น ศีลธรรม ความซื่อสัตย์ ใจกว้าง ความพากเพียร ความเห็นอกเห็นใจ ความพากเพียร และความชอบธรรม .ด้วยการก่อตั้งราชวงศ์จักรีในปี พ.ศ. 2325 และได้สถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง ความเป็นกษัตริย์มีพื้นฐานมาจากการยึดมั่นในแนวความคิดทางพุทธศาสนาดังกล่าว ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นจรรยาบรรณของคนไทยในปัจจุบัน พระมหากษัตริย์และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นหนึ่งเดียวที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน สมัยกรุงเทพฯ ได้ก่อให้เกิดการสืบราชสันตติวงศ์ของกษัตริย์ที่มีความสามารถ ซึ่งสามารถรับมือกับความท้าทายต่างๆ ของประเทศ ต่อประชาชนตลอดจนสถาบันพระมหากษัตริย์เอง ทุกวันนี้ ประเทศไทยเป็นระบอบรัฐธรรมนูญที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย พระมหากษัตริย์ไทยครองราชย์แต่ไม่ทรงปกครอง เขาปลดประจำการตามรัฐธรรมนูญของประเทศและอยู่เหนือพรรคการเมืองในขณะเดียวกันก็สนับสนุนการพัฒนาและความเป็นอยู่ที่ดีของราชอาณาจักรและประชาชนในราชอาณาจักรต่อไป

สถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทยมีลักษณะเฉพาะหลายประการ ซึ่งมักยากที่บุคคลภายนอกจะเข้าใจได้อย่างเต็มที่ ไม่เพียงแต่มีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่าเจ็ดร้อยปีเท่านั้น แต่ยังสามารถรักษาความเกี่ยวข้องและความมีชีวิตชีวาในโลกร่วมสมัยได้อีกด้วย แม้ว่าระบอบราชาธิปไตยในรูปแบบที่สมบูรณ์จะสิ้นสุดลงในปี 2475 แต่สถาบันในปัจจุบันยังคงให้ความเคารพอย่างลึกซึ้งและเป็นสากลและทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบที่รวมเป็นหนึ่งของประเทศ

พระมหากษัตริย์ของไทยมีอำนาจโดยตรงเพียงเล็กน้อยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่เป็นสัญลักษณ์ของเอกลักษณ์และความสามัคคีของชาติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2489 ถึง พ.ศ. 2559 ทรงบัญชาการเคารพนับถือและอำนาจทางศีลธรรมอย่างมหาศาล ซึ่งพระองค์ได้ทรงใช้เป็นครั้งคราวเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่คุกคามเสถียรภาพของชาติ

ทักษะทางการทูตของไทยทำให้พวกเขาทำสนธิสัญญาต่างๆ กับชาติตะวันตกในช่วงที่เริ่มในปลายศตวรรษที่ 18 ความสัมพันธ์ไทยถูกสร้างขึ้นโดยเฉพาะกับอังกฤษและฝรั่งเศส หลายคนกล่าวว่ากลยุทธ์ทางการทูตนี้อาจเป็นเหตุผลเดียวที่พวกเขายังคงควบคุมในช่วงเวลาที่มีการล่าอาณานิคมทางตะวันตกอย่างหนาแน่นในภูมิภาคนี้

ประเทศไทยจัดอยู่ในระบอบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์มีอำนาจโดยตรงเพียงเล็กน้อยภายใต้รัฐธรรมนูญ และใช้อำนาจผ่านรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาลตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐเป็นสัญลักษณ์ของเอกลักษณ์และความสามัคคีของชาติ

AI writer กับงานเขียนภาษาไทย

แม้การใช้ AI writer เขียนเนื้อหาภาษาอังกฤษแล้วแปลเป็นไทย จะยังมีร่องรอยที่ทำให้ครูผู้สอนพอจับได้ว่าไม่ได้เขียนเอง แต่หากนักเรียนเรียนรู้ที่จะปรับแก้ภาษาไทยให้เป็นธรรมชาติเป็นภาษาตัวเองมากขึ้น ก็สามารถใช้ประโยชน์จาก AI writer ได้ไม่ยาก

ในภาษาอังกฤษนั้น ปัจจุบัน นักเขียนจำนวนหนึ่งได้ปรับตัวใช้ AI writer ในการช่วยร่างบทความออกมาให้เลือกใช้ เพราะ AI สามารถเขียนบทความอออกมาให้ได้ในชั่วพริบตา สิ่งที่นักเขียนทำคือ อ่าน เลือก และปรับแต่งใหม่ให้ได้ตามแบบที่ตนเองพอใจ นักเขียนเหล่านี้ยอมรับว่าการใช้ AI ช่วยเขียนทำให้เขาทำงานได้เร็วขึ้น ได้แรงบันดาลใจจากเนื้อหาที่เครื่องแต่งให้. แต่ขณะเดียวกัน ก็มีผู้เตือนว่า เพราะความที่การสร้างงานเขียนนั้นง่ายมากขึ้น ค่าตอบแทนที่นักเขียนเคยได้รับก็อาจลดลงได้ในอนาคต

AI writer กับการสอนภาษา

ปัญหาสำคัญที่ครูสอนภาษาควรสนใจเรื่องนี้มีอะไรบ้าง แน่นอนว่า เมื่อครูเริ่มเข้าใจว่ามีเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยให้เขียนงานง่ายขึ้น ครูที่อยากให้นักเรียนเขียนงานเอง ก็จำต้องขีดวงให้นักเรียนเขียนงานให้เสร็จในชั้นเรียน ไม่ให้ใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างเขียน วิธีการนี้ก็ทำได้ แต่ใช่สิ่งที่เราควรทำไหม ในเมื่อนักเขียนอาชีพเองก็ไม่ปฏิเสธที่จะใช้เครื่องมือเหล่านี้ในงานอาชีพ ทำไมเราจึงไม่สนับสนุนให้นักเรียนเรียนรู้และเข้าใจการใช้งานเครื่องมือเหล่านี้ให้เหมาะสม

แต่ถ้าให้นักเรียนใช้เครื่องมือเหล่านี้ ใช้ AI ให้แต่งเรื่องให้ แล้วนักเรียนจะเรียนรู้วิธีการเขียนที่ดีได้ไหม จะเรียนหรือเขียนความเรียงเองได้อย่างไร ในตัวอย่างปัญหาความเรียงภาษาไทยที่เห็นนี้ เป็นปัญหาที่มาจากการแปลภาษาอังกฤษเป็นไทยที่ยังไม่สมบูรณ์ ณ ตอนนี้ เราอาจสอนวิธีการปรับแก้ภาษาให้เป็นธรรมชาติได้ แต่ก็เป็นการสอนวิธีการเขียนในเรื่องการใช้คำ สำนวน การเชื่อมโยงความให้ต่อเนื่อง ไม่ได้ปรับแก้การนำเสนอความคิดในบทความโดยตรง ถ้า AI เขียนเรื่องโดยมีเนื้อหาและลำดับความเหมาะสมแล้ว เราจะสอนอะไร หรือในอนาคต AI writer ก็อาจจะเขียนเรื่องออกมาเป็นภาษาไทยได้สละสลวยเลยไม่ต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษแล้วผ่านการแปลแบบที่ทำนี้ ถ้า AI เขียนเรื่องภาษาใดๆ ออกมาได้ดีแล้ว เราควรจะสอนอะไร

เพราะ AI จะมีความสามารถทางภาษาเพิ่มขึ้นทุกปีไม่มีคงที่หรือลดลง. ความสามารถในการเขียนหรือเรียบเรียงความ ย่อความ สรุปความเป็นสิ่งที่คาดได้ว่า AI จะสามารถช่วยทำแทนเราได้ แล้วเรายังจะต้องเรียนภาษากันไหม

แม้ว่า AI จะมีความสามารถทางภาษาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ AI ยังไม่มีความเข้าใจในภาษาเหมือนมนุษย์. AI ยังไม่สามารถเชื่อมโยงข้อความที่อยู่ในงานเขียนกับโลกหรือสังคมภายนอกได้ ที่ว่า AI เขียนออกมาแล้วเขียนได้ดี ใช้ได้ ก็เป็นมนุษย์เราเองที่เป็นผู้อ่านและเข้าใจความจากข้อเขียนนั้น เป็นมนุษย์เองที่ให้คุณค่าและประเมินงานเขียนเหล่านั้น. ไม่ใช่เครื่องที่มีตั้งใจอยากสื่อความบางอย่างออกมา งานเขียนที่ได้ออกมาคือสิ่งที่ AI คาดว่าน่าจะเขียนออกมาเป็นแบบนี้แบบนั้นได้โดยอิงกับข้อมูลภาษาทั้งหมดที่เคยรับรู้

ในมิตินี้ การสอนให้อ่านและวิเคราะห์เพื่อเข้าใจความที่เขียนในงานเขียนต่างๆ ยังเป็นสิ่งสำคัญที่นักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้. การอ่านเพื่อตีความให้เข้าใจในงานเขียนต่างๆ จึงดูเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการเรียนภาษา. เมื่อสามารถอ่านและเข้าใจความ สามารถวิเคราะห์วิจารณ์ได้ว่าเนื้อหาใดเหมาะหรือไม่เหมาะจึงจะรู้ว่าจะปรับแก้ไขอย่างไร

ในอนาคต เราคงเลี่ยงที่จะไม่ใช้ AI เป็นเครื่องมือทางภาษาในงานด้านต่างๆ ไม่ได้ และเทคโนโลยีภาษาเหล่านี้ก็มีแต่จะเก่งและมีประสิทธิภาพมากขึ้น. อีกไม่นาน การอ่านหรือวิเคราะห์ข้อความในงานเขียน AI ก็จะสามารถช่วยเราแจกแจงได้ว่ามีคำอะไรบ้าง เป็นคำชนิดไหน มาประกอบกันเป็นโครงสร้างประโยคอย่างไร ประโยคต่างๆ เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร ทำไมจึงมีความกำกวมเกิดขึ้นได้ ทำไมจึงควรเลือกตีความแบบนี้มากกว่าอีกแบบ. สิ่งที่เป็นสาระสำคัญคือการที่ครูผู้สอนเข้าใจว่ามีเทคโนโลยีภาษาอะไรบ้างที่มีอยู่และสิ่งเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์หรือนำมาใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในภาษามากขึ้นได้อย่างไร. การเรียนการสอนภาษาจึงจำเป็นต้องปรับตัวไปตลอดไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีด้วย

เขียนมาถึงตรงนี้ ทั้งครูสมศรีและครูปรามีย์ต่างก็มองหน้ากัน เหมือนถามว่าแล้วควรทำอย่างไรกันต่อไปดี

อ่านเพิ่มเติม

--

--

No responses yet