ChatGPT : Code interpreter กับการสร้างไฟล์นำเสนองาน
ChatGPT สามารถนำมาช่วยเตรียมข้อมูลเพื่อนำเสนองานได้ แทนที่จะถามข้อมูลแล้วให้ ChatGPT ตอบมาเป็นความเรียงตามปกติ. เราสามารถสั่งให้เตรียมข้อมูลให้เป็นเค้าโครงรายการหัวข้อสำคัญที่ควรเสนอ แล้วนำมาใช้ได้. ตัวอย่างข้างล่างเป็นการทดลองสั่งให้ร่างหัวข้อนำเสนอเรื่องของ “AI and office works”. ซึ่งก็เป็นงานถนัดของ ChatGPT ที่สามารถแนะนำการเขียนสไลด์แต่ละหน้าและประมาณจำนวนนาทีที่ควรพูดในสไลด์นั้น ๆ
จากนั้นจึง upload ไฟล์ power point เปล่าไปให้ (PresentationX.pptx) แล้วให้ใส่เนื้อหาที่เตรียมให้ลงในสไลด์ เมื่อเสร็จแล้วก็จะมี link ให้ download ไฟล์ที่แก้ไขใหม่นี้
เมื่อเปิดดูไฟล์ที่ได้มา ก็เห็นเป็นไฟล์ที่พร้อมใช้ มีเนื้อหาตามที่ร่าง เพียงแต่ไม่มีหน้าแรก และเป็นไฟล์ที่ไม่มี template อะไรต้องมาเติมแต่งเลือก template ที่ต้องการเองภายหลัง.
จึงได้ลองใหม่ คราวนี้สร้างไฟล์เปล่าแต่มี template ที่เลือกไว้ก่อนแล้วจึง upload ไปให้ทำใหม่ พร้อมสำทับให้ใส่ title กับชื่อผู้เสนอด้วย
ผลที่ได้ก็เป็นไฟล์ตาม template ที่ให้ไป และมี title กับชื่อผู้เสนอ เพียงแต่ไม่ได้ใส่ไว้หน้าแรกให้เท่านั้น เข้าใจว่าเพราะ Code interpreter เขียนให้เติมสไลด์เข้าไปในไฟล์เดิมซึ่งมีหน้าแรกที่เป็นหน้าเปล่าอยู่ก่อน Title กับชื่อผู้เสนอจึงไปอยู่ที่หน้าสอง
การสร้างสไลด์ด้วยวิธีการนี้ทำได้วันที่ 22 กรกฎาคม 2556. ก่อนหน้านี้ มีผู้เคยทดลองทำด้วยการสั่งให้สร้างไฟล์ pptx โดยตรงเลยไม่ต้อง upload ไฟล์ไปให้ก่อน ก็สามารถทำได้ [1]. แต่ ณ วันที่ทดลองนี้ วิธีการนี้ไม่สำเร็จแล้ว เพราะ ChatGPT จะเอาแต่ตอบว่าไม่สามารถทำให้ได้ ให้เอาเนื้อหาไป copy ใส่เอาเอง. แต่การที่เราสามารถ upload pptx แล้วให้เติมข้อมูลเพิ่มได้ เพราะ Code interpreter ทำงานโดยเขียนโปรแกรม Python ไปเติมสไลด์ทีละหน้าให้และเอาเนื้อหาที่สร้างไว้มาใส่ไว้ในแต่ละหน้านั้น
หลังจากเตรียมสไลด์เสร็จ ตัวบทที่จะบรรยาย เราก็สามารถให้ ChatGPT ช่วยร่างให้ได้ ในที่นี้ได้ขอให้ลองร่างสไลด์แรก Introduction ให้มีบททั้งอังกฤษและไทย ซึ่ง Code interpreter ก็ร่างมาให้เรา copy ไปใช้ต่อได้. ซึ่งก็เป็นตามคาด คือ บทภาษาอังกฤษดูดีกว่าบทภาษาไทยที่ภาษายังต้องนำมาแก้ไขเอง
Good morning/afternoon/evening everyone,
My name is Wirote Aroonmanakun. Today, I’m here to talk about a fascinating topic, one that is transforming the way we operate in the professional world: “Revolutionizing Office Work: The Transformative Power of Artificial Intelligence”.
Artificial Intelligence, or AI, is no longer a concept of the future. It has made its way into our daily lives and is significantly changing the way we work, especially in office environments.
In the next 20 minutes, we’ll delve into what AI is, how it’s relevant to office work, the benefits, real-life case studies, some challenges and considerations, and finally, the future of AI in office work.
I hope you will find this presentation enlightening and engaging. Let’s get started.
สวัสดีทุกท่าน,
ผมชื่อวิโรจน์ อรุณมนาคุณ วันนี้ผมมีโอกาสที่จะมานำเสนอเรื่องที่น่าสนใจ ซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานในโลกมืออาชีพ: “การปฏิวัติการทำงานในสำนักงาน: พลังแปลงรูปของปัญญาประดิษฐ์”.
ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI, ไม่ได้เป็นแนวคิดของอนาคตอีกต่อไป มันได้เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเราและเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของเราอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมสำนักงาน
ใน 20 นาทีถัดไป เราจะขุมเข้าสู่สิ่งที่ AI คืออะไร วิธีที่มันเกี่ยวข้องกับการทำงานในสำนักงาน ประโยชน์ การศึกษากรณีในชีวิตจริง ความท้าทายและการพิจารณาบางอย่าง และสุดท้าย อนาคตของ AI ในการทำงานในสำนักงาน
ผมหวังว่าคุณจะพบว่าการนำเสนอนี้เป็นประโยชน์และน่าสนใจ มาเริ่มกันเลย
เราสามารถให้ ChatGPT ค่อยๆ เขียนบทให้ทีละสไลด์แล้ว copy ไปใช้ หรือถ้าไฟล์นำเสนอไม่ยาวมาก เราก็อาจจะให้สร้าง outline แต่ละสไลด์ แล้วสร้างบทบรรยายของแต่ละสไลด์ จากนั้นจึง upload ไฟล์เปล่าไปให้ใส่ตัว outline รวม bullet points ในนั้นลงในสไลด์ และเอาบทบรรยายใส่ไว้ใน note ของแต่ละสไลด์ก็ได้. ก็จะได้ไฟล์ pptx ที่มีทั้งตัวสไลด์และบทบรรยาย (เนื่องจากเป็นการทดลองทำใหม่ ตัวเนื้อหาจึงไม่ใช่เนื้อหาเดิมข้างบน)
ในบางกรณี เราอาจมีบทความที่ต้องอ่านและนำเสนอ ก็สามารถใช้ Code interpreter ให้อ่านบทความที่ upload ไปให้และสร้างเนื้อหานำเสนอพร้อมบทบรรยายลงในสไลด์ให้ได้ตามวิธีการข้างต้น
ตัวอย่างที่ยกมาให้ดูนั้น สามารถทำได้เพราะความสามารถของ Code interpreter ร่วมกับความสามารถของ GPT-4 ในการสร้างเนื้อหานำเสนอ. การทำงานจริงนั้น อาจมี error หรือไม่ได้แบบที่คาดก็ได้ เพราะมีปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเว้นช่วงการใช้งานไม่ต่อเนื่องก็มีผลให้ ChatGPT ลืมสิ่งที่สร้างไว้ในตอนต้นได้โดยเฉพาะเมื่อใช้ Code interpreter ค่าตัวแปรหรือข้อมูลอ่านจากไฟล์อาจหายจากหน่วยความจำไปได้. ทางที่ดี คือควรวางขั้นตอนว่าจะสั่งให้ทำอะไรบ้างให้ชัดเจนก่อน และรีบทำต่อเนื่องให้ได้ผลที่ต้องการในคราวเดียวไปเลย. นอกจากนี้ มีผู้รายงานว่า ChatGPT เหมือนตอบคำถามแย่ลง [2]. ตัวโมเดลที่เราใช้แต่ละครั้งจึงอาจไม่ใช่โมเดลเดิมที่เคยใช้ และเป็นไปได้ที่อาจไมสามารถทำสิ่งที่เคยสั่งให้ทำเมื่อก่อนก็ได้.
นอกจาก Code interpreter ยังมี AI อื่น ๆ ที่ออกมาเพื่อช่วยสร้างสไลด์นำเสนองานอย่าง SlidesAI.io [3] ที่เป็น extension ของ Google slides. ทำงานโดยรับตัวบทหรือข้อความขนาดยาวที่มี copy ใส่ลงไป AI จะไปอ่านและคัดเลือกว่าอะไรควรเป็นหัวเรื่องและประเด็นในแต่ละสไลด์ พร้อมทั้งสร้างภาพง่ายประกอบสไลด์ เหมาะสำหรับงานเร่งด่วนที่มีเนื้อหาอยู่แล้วให้ AI ดึงมาทำเป็นสไลด์นำเสนอให้. สามารถใช้ตัวบทภาษาไทยได้
นอกจากเครื่องมือ AI เหล่านี้ หากสำรวจดูเครื่องมืออื่น ๆ ก็จะเห็นว่าสิ่งที่ AI ช่วยทำได้ไม่ได้มีเพียงเขียนเนื้อหาและเลือกประเด็นนำเสนอ แต่การนำเสนอคือตัวเสียงบรรยายก็มีเครื่องมือที่เป็นเสียงสังเคราะห์ที่ใกล้เคียงเสียงมนุษย์มากขึ้น มีเครื่องมือที่สร้างภาพเคลื่อนไหวหรือทำคลิปวิดีโอให้ สิ่งเหล่านี้บ่งชี้ว่างานต่าง ๆ ที่เราเคยลงมือทำเองทุกขั้นตอนจะลดลงและมี AI มาช่วยทำแทนมากขึ้นเรื่อย ๆ
สร้างไฟล์วิดีโอ (Update Oct 13, 2023)
ChatGPT Plus มี plugin ใหม่ ๆ เพิ่มอยู่ตลอด บาง plugin สามารถใช้สร้างไฟล์วิดีโอเพื่อใช้นำเสนอเรื่องที่ต้องการได้ ตัวอย่างนี้ ทดลองเอาบทความวิจัยหนึ่งบทความให้ ChatGPT อ่านและสร้างวิดีโอนำเสนองานให้ โดยใช้ plugin “AI PDF” และ “Video AI by invideo” เริ่มด้วยการถามว่าจะอ่านบทความ pdf และช่วยสร้าง video presentation ให้ได้ไหม
เมื่อแน่ใจว่า ChatGPT ทำได้ จึงให้ link ของบทความไปให้อ่าน ซึ่ง AI PDF ก็สามารถอ่านบทความและสรุปสาระสำคัญมาให้ได้
จากนั้นจึงสั่งให้สร้างวิดีโอนำเสนอจากเนื้อหาในบทความนั้น ซึ่ง Plugin นี้ไปเรียกใช้งาน InVideo ในเว็บ https://invideo.io เมื่อสร้างแล้วก็ได้ link ไปทีเว็บให้ดาวน์โหลดไฟล์มาใช้ได้ตามที่เห็น แม้ภาพประกอบจากใช้คลังภาพและวิดีโอที่มีอยู่จะไม่ตรงกับเรื่องการถอดอักษรไทยเป็นโรมันเท่าใดนัก แต่ก็แสดงให้เห็นศักยภาพของ AI ในอนาคตที่สร้างอ่านงาน สรุปงาน และสร้างวิดีโอนำเสนอให้ได้ทันที
อ้างอิง
[1] https://www.facebook.com/groups/codeint/permalink/1461590181271360/
[2] Al-Sibai, N. (2023). Stanford Scientists Find That Yes, ChatGPT Is Getting Stupider. Futurism. Retrieved from https://futurism.com/the-byte/stanford-chatgpt-getting-dumber
[3] Create Presentation Slides With AI in seconds with SlidesAI. (2023, July 25). Retrieved from https://www.slidesai.io