Member-only story
ChatGPT with canvas กับงานเขียนภาษาไทย
การเปิดตัวของ ChatGPT with canvas ที่มีคุณสมบัติให้ผู้ใช้สามารถปรับแก้งานเขียนหรือโปรแกรมที่ ChatGPT เขียนออกมาได้ เป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการสร้างสรรค์งานเขียนเพื่อใช้ในงานต่าง ๆ. แน่นอนว่าภาษาอังกฤษจะใช้งานได้ดีอย่างไม่ต้องสงสัย แต่กับภาษาไทย canvas จะช่วยงานเขียนภาษาไทยได้ดีเพียงใด. ตัวอย่างบทสนทนาข้างล่างเป็นงานที่ได้จากการให้ ChatGPT-4o เชียนบทสนทนาระหว่างคนสองคนเพื่ออธิบายแนวคิดเรื่องมโนอุปลักษณ์หรือ conceptual metaphor ในทางภาษา.
บทสนทนาที่เห็นนี้ได้มาจากการใช้ canvas แก้ไขข้อความเองบ้าง ให้ ChatGPT ปรับแก้เฉพาะส่วนตามที่กำหนด ปรับเนื้อความให้มีความยาวมากขึ้น และปรับระดับภาษาให้ยากขึ้น.
**มายด์:** ได้ยินมีคนพูดถึง conceptual metaphor วันนี้ มันคืออะไร เห็นเขาว่าคนเราใช้ conceptual metaphor เป็นเรื่องปกติ แต่ทำไมบางครั้งฉันถึงไม่รู้ตัวเลยว่าเราใช้มันอยู่?
**นัท:** การใช้ conceptual metaphor เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยและเป็นธรรมชาติในการใช้ภาษา เรามักจะใช้การเปรียบเทียบลักษณะนี้โดยไม่รู้ตัว เพื่อทำให้ความหมายของสิ่งที่เป็นนามธรรมเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แม้ว่าเราอาจจะไม่ได้ตระหนักว่ากำลังใช้การเปรียบเทียบเหล่านี้อยู่ แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ภาษามีความยืดหยุ่นและลึกซึ้ง การเปรียบเทียบเชิงมโนอุปลักษณ์นี้ยังช่วยให้เราเชื่อมโยงแนวคิดต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ทำให้เกิดการเข้าใจและสื่อสารระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
**มายด์:** ฉันยังค่อนข้างสับสน เธอช่วยยกตัวอย่างได้ไหม?